ทุกคนคำนวณต้นทุนวัตถุดิบเป็น แต่ทำไมยังเจ๊ง?
ก่อนที่จะเริ่มธุรกิจ ทุกคนคงจะเริ่มศึกษาแนวทางและวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณต้นทุน สัดส่วนการควบคุมต้นทุนแต่ละส่วนต่อรายได้ ทั้งจากอินเทอร์เน็ต หนังสือหรือคอร์สเรียนต่างๆ ซึ่งอาจจะได้มาถึงบทสรุปที่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้หลักการไว้ แต่ในกรณีคุณไปนำหลักการมาใช้โดยไม่ได้เจาะลึกถึงบริบทของตัวเอง อาจจะมองข้าม “ต้นทุนแฝง” ที่จำเป็น!
ร้านที่เราเปิดคือ Active Income
ถ้าร้านหยุด ก็ไม่มีรายได้เข้ามาเลย! เพราะฉะนั้นต้นทุน เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าเสื่อม ล้วนเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้นควรคำนวณให้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่สามารถทำรายได้เข้ามาได้จริง
▪️ ค่าเช่าและค่าเสื่อม
เจ้าของธุรกิจใหม่ๆ มักจะพลาดส่วนนี้ พออุปกรณ์หรือของตกแต่งเสื่อมสภาพ ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ก็ถาโถมเข้ามา และทำให้รู้ทีหลังว่ายอดขายที่ผ่านมา กำไรที่คิดว่าได้จริงๆ อาจจะเป็นแค่การนำเงินลงทุนกลับมา โดยอาจจะยังไม่ครบด้วยซ้ำ และไม่มีกำไรจริงๆ เลยแม้แต่น้อย
▪️ ค่าพลังงาน (ไฟฟ้า/แก๊ส)
การใช้วิธีเฉลี่ยโดยรวม อาจทำให้ขายขาดทุนแทน เพราะบางเมนูที่อาจใช้วัตถุดิบน้อย แต่กลับต้องใช้แก๊สหรือไฟฟ้าเยอะ หากคิดเฉพาะ COGS อาจจะเห็นว่าต้นทุนไม่สูง แต่จริงๆ แล้วเมื่อกลับมาดูที่ต้นทุนพลังงาน อาจทำให้ร้านขายขาดทุนไปตั้งนานโดยไม่รู้ตัว และยากต่อการปรับราคาขึ้น เพราะอาจกระทบกับลูกค้าเก่าที่มีอยู่
💡 1% ของ 1 ล้าน เท่ากับ 10% ของ 1 แสน
การคิดจากเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ต้นอาจทำให้ร้านเจ๊งได้ตั้งแต่เริ่ม!
• หากกำหนดให้ต้นทุนค่าแรง 20%
ลองคิดจำนวนพนักงานที่สามารถจ้างได้ด้วยจำนวนเงินเท่านี้ดู
ตัวอย่างง่ายๆ หากกำหนดให้ค่าจ้างต่อคนเฉลี่ยที่ 10,000 บาท/เดือน
ร้านขนาดเล็กจ้างได้เต็มที่เพียง 2 คน แต่ร้านขนาดใหญ่อาจจ้างได้มากถึง 20 คน
จำนวนคนที่น้อยหมายถึงปริมาณงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น เมื่อนึกถึงการทำงานเฉพาะหน้าเดียว เปรียบเทียบการต้องทำหลายๆ อย่างไปพร้อมกัน ว่าจะสามารถทำให้ได้อย่างไม่ผิดพลาดและรักษามาตรฐานได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
• อำนาจต่อรองราคา
ซื้อวัตถุดิบครั้งละหมื่น กับครั้งละพัน ใครจะมีสิทธิ์ต่อรองราคาได้ดีกว่ากัน?
บทสรุป
การนำข้อสรุปของร้านขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมาใช้กับร้านขนาดเล็ก อาจไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด การที่จะทดแทนได้คือการคำนวณให้ละเอียดยิ่งขึ้นเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อหาความเป็นไปได้ว่าร้านจะอยู่รอดได้ในระยะยาว
และการลงทุนของร้านใหญ่ที่อาจจะมาจาก Passion ล้วนๆ โดยไม่ได้ศึกษาถึงโอกาสและความเป็นไปได้ อาจเป็นการลงทุนที่ไม่สามารถทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน หรือสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาล
ใช้เครื่องมือที่จะช่วยคุณคำนวณราคาขายและเป้าหมายยอดขายต่อวันอย่างละเอียดตั้งแต่ก่อนที่จะเปิดจริง วิเคราะห์ต้นทุนและวางแผนธุรกิจได้อย่างแม่นยำ!