Feasibility analysis
รู้จุดคุ้มทุน วางแผนยอดขาย และประเมินความคุ้มของการลงทุน ด้วยการทำ Financial Feasibility
(กดที่ปุ่มด้านล่างเพื่อรับชม)
ขั้นตอนการทำ แบบ Bistodio
- วิเคราะห์จากเมนูของคุณเอง
ไม่ใช้ค่าเฉลี่ยทั่วไป เพราะต้นทุนที่แท้จริงของแต่ละร้านไม่เหมือนกัน - แบ่งรายจ่ายตามหมวดหมู่ชัดเจน
ค่าเช่า, พนักงาน, อุปกรณ์, ค่าการตลาด, ภาษี - คำนวณเป้ายอดขายต่อวัน
ต้องขายกี่จานถึงจะถึงจุดคุ้มทุน (Break-even) - ต่อยอดด้วยแผนการตลาด
วางกลยุทธ์ Upsell และ Cross-sell อย่างมีประสิทธิภาพ - ควบคุมรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
วิเคราะห์ว่าลดค่าใช้จ่ายจุดไหนได้บ้าง เพื่อเพิ่มผลกำไร
- ประเมินความคุ้มค่าของการลงทุน
ถ้าไม่คุ้มทุน แต่ยังอยากทำ ต้องปรับกลยุทธ์ตรงไหนบ้าง เพื่อให้ธุรกิจไปรอด
หมายเหตุ: ตัวอย่างที่ใช้เป็นข้อมูลสมมุติ ใช้เพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น
Feasibility Study คืออะไร?
Feasibility Study หรือ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เป็นการประเมินว่า “ธุรกิจร้านอาหารของคุณมีโอกาสประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน” โดยเน้นการคำนวณหาจุดคุ้มทุน (Break-even point) การวางแผนยอดขาย และการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุน
การทำ Feasibility ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เชิงลึกด้านบัญชีหรือการเงิน แค่คุณเข้าใจหลักการเบื้องต้นว่า “ต้องคิดอะไรบ้าง” ก็สามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ
ทำไมร้านอาหารควรทำ Feasibility ในตอนนี้?
ในช่วงที่ธุรกิจร้านอาหารกำลังเผชิญกับความท้าทาย การรู้ล่วงหน้าว่าคุณต้องขายกี่จานต่อวัน, ควรจ้างพนักงานกี่คน, หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าไฟ, อุปกรณ์, การตลาด, ภาษี ต้องเตรียมไว้อย่างไร จะช่วยให้คุณวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงที่จะขาดทุน
เทคนิคสำคัญที่ร้านอาหารห้ามมองข้าม
- ออกแบบร้านให้เหมาะกับทำเล
- ต้นทุนแฝง เช่น ภาษีป้าย ค่าออกแบบร้าน ระบบบัญชี เป็นสิ่งที่ต้องนำมาคำนวณเสมอ
- ร้านขายดี ไม่ได้หมายถึงร้านมีกำไร ถ้าไม่สามารถควบคุมต้นทุนได้
บทสรุป
การทำ Feasibility Study ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ธุรกิจเกิดใหม่ แต่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับธุรกิจที่ดำเนินงานมานานแล้ว เพื่อช่วยในการ ทบทวน ประเมิน และวางแผนอนาคต ให้ร้านอาหารยังคงเติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
ลองเริ่มต้นด้วย เทมเพลตคำนวณต้นทุน ที่จะช่วยให้คุณทำได้ตั้งแต่ต้นทุน วิเคราะห์ Feasibility และสร้างระบบสูตรมาตรฐานและSOP