Suggested Order Quantity (SOQ)
ปริมาณที่แนะนำสำหรับการสั่งซื้อ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถิติการใช้งานและระดับสต็อกคงเหลือปัจจุบัน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้งานจริงของวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลา
ข้อดี
- ปรับการสั่งซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง
- ลดค่าใช้จ่ายจากการสต๊อกเกินความจำเป็น
- ลดโอกาสสินค้าไม่เพียงพอ
ปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณ SOQ
SOQ ไม่ใช่แค่ปริมาณสั่งซื้อแบบคงที่ แต่ปริมาณที่แนะนำจะเปลี่ยนแปลงตามการใช้งานจริงของสินค้าในแต่ละช่วงเวลาที่นำมาวิเคราะห์ โดยพิจารณาจากปัจจัยดังนี้
1.อัตราการใช้วัตถุดิบต่อวัน (Average Daily Usage)
2.ระยะเวลารอสินค้า (Lead Time)
3.ระดับสต็อกขั้นต่ำที่ควรมี (Safety Stock)
4.สต็อกที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Current Stock)
🔣 สูตรพื้นฐานการคำนวณ SOQ
• Average Daily Usage (อัตราการใช้วัตถุดิบต่อวัน)
คำนวณจากปริมาณการใช้สินค้ารายวันในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ใช้ข้อมูลการใช้ย้อนหลัง 30 วัน แล้วคำนวณค่าเฉลี่ยรายวัน
ตัวอย่าง: หากใช้สินค้า 600 หน่วยใน 30 วัน จะได้ Average Daily Usage = 600 ÷ 30 = 20 หน่วยต่อวัน
• Lead Time (ระยะเวลารอสินค้า)
ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่แจ้งสั่งซื้อสินค้าจนกระทั่งสินค้ามาถึงคลัง เช่น หากผู้สั่งดำเนินการแจ้งสั่งซื้อจนกระทั่งผู้จัดจำหน่ายมาถึงเราใช้เวลา 5 วัน ค่านี้จะเท่ากับ 5 วัน
• Safety Stock (ระดับสต็อกขั้นต่ำที่ควรมี)
ค่าระดับสต็อกปลอดภัยที่กำหนดไว้เพื่อป้องกันการขาดแคลนสินค้า
เช่น หากช่วงเวลาหนึ่งมีการเฉลี่ย 30 หน่วยต่อวัน และ Lead Time คือ 7 วัน
ค่า Safety Stock = (30 × 7) – (20 × 5) = 110 หน่วย
• Current Stock (สต็อกปัจจุบัน)
คือจำนวนสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อปรับยอดจำนวนการสั่งซื้อให้ตรงกับความต้องการจริง
ตัวอย่าง: รายการA มียอดคงคลังที่ 60 หน่วย
ตัวอย่างการคำนวณ
ดังนั้น ปริมาณที่แนะนำให้สั่งซื้อสินค้าในครั้งนี้จะเท่ากับ 150 หน่วย
บทสรุป
ใช้แอปพลิเคชันบริหารจัดการระบบหลังบ้าน ที่ช่วยวิเคราะห์สต๊อกและการจัดซื้อไว้ในที่เดียว ลดต้นทุนแฝงในงานระบบหลังบ้าน ช่วยประหยัดเวลาเจ้าของธุรกิจ