วิเคราะห์เมนู จัดกลุ่มตามหลัก Menu Engineering
วิเคราะห์เมนู Menu Engineering
การวิเคราะห์เมนูตามหลัก Menu Engineering จากข้อมูลการขายและกำไรของเมนู เพื่อช่วยเพิ่มผลกำไรและปรับปรุงการจัดการเมนูให้มีประสิทธิภาพ

Menu Engineering คืออะไร?

Menu Engineering คือกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลการขายและกำไรของเมนูอาหาร เพื่อออกแบบเมนูที่ช่วยเพิ่มกำไรและปรับปรุงการจัดการเมนูให้มีประสิทธิภาพ  เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่เข้าใจพฤติกรรมการสั่งซื้อของลูกค้า พร้อมวางกลยุทธ์การจัดการเมนูให้เหมาะสมกับเป้าหมายธุรกิจ

หลักการสำคัญคือการแบ่งกลุ่มเมนูตามสองปัจจัย
  • ความนิยม (Popularity): ความถี่ที่เมนูนั้นถูกสั่ง
  • กำไร (Profitability): กำไรที่เมนูนั้นสร้างได้

ประโยชน์ของ Menu Engineering

  • เพิ่มกำไร: ช่วยให้รู้ว่าเมนูไหนควรโปรโมต เมนูไหนควรปรับปรุงหรือตัดออก
  • ลดต้นทุน: วิเคราะห์ต้นทุนในแต่ละเมนู ตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์และทำกำไรได้น้อย 
  • เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า: วิเคราะห์จากข้อมูลการซื้อที่เกิดขึ้นจริง เพื่อพัฒนาแนวทางของเมนูใหม่ๆ

4 กลุ่มหลักใน Menu Engineering

การวิเคราะห์เมนูจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน:

Menu engineering วิเคราะห์เมนู

1. Stars (ดาวเด่น)

ความนิยมสูง – กำไรสูง

เมนูในกลุ่มนี้คือเมนูที่ลูกค้าชอบและสร้างกำไรได้ดี เหมาะสำหรับการโปรโมตและจัดวางเมนูให้โดดเด่น

ตัวอย่าง:

  • เมนูที่ลูกค้าสั่งบ่อยและมีกำไรต่อจานสูง เช่น สเต็ก, ชานมไข่มุก

กลยุทธ์:

  • เพิ่มการโปรโมต เช่น ใช้รูปภาพเด่นในเมนู

2. Plowhorses (ม้าลากไถ)

ความนิยมสูง – กำไรต่ำ

เมนูในกลุ่มนี้ขายดีแต่กำไรต่อจานต่ำ มักเกิดจากต้นทุนวัตถุดิบสูงหรือราคาขายต่ำ

ตัวอย่าง:

  • อาหารจานหลักที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพดี เช่น ข้าวผัดกุ้ง

กลยุทธ์:

  • ปรับต้นทุน เช่น ลดส่วนผสมราคาแพง ปรับลดปริมาณ หรือเพิ่มราคาขายให้เหมาะสม
  • เพิ่มกำไรเฉลี่ยต่อคำสั่งซื้อ โดยการจับคู่กับเมนูเสริม เช่น เครื่องดื่ม

3. Puzzles (ตัวปริศนา)

กำไรสูง – ความนิยมน้อย

เมนูในกลุ่มนี้มีกำไรต่อจานสูง แต่ไม่ได้รับความสนใจจากลูกค้า

ตัวอย่าง:

  • อาหารที่มีรสชาติเฉพาะ เช่น เมนูฟิวชัน หรือของหวานแบบพิเศษ

กลยุทธ์:

  • ปรับการนำเสนอ เช่น ให้พนักงานแนะนำกับลูกค้า ใช้รูปภาพ สวยงาม หรือคำบรรยายที่น่าสนใจ
  • จัดโปรโมชัน เช่น ลดราคาช่วงแนะนำ

4. Dogs (สุนัข)

ความนิยมต่ำ – กำไรต่ำ

เมนูในกลุ่มนี้สร้างกำไรได้น้อยและไม่ค่อยมีลูกค้าสั่ง

ตัวอย่าง:

  • เมนูที่ลูกค้าสั่งน้อย เช่น เมนูเฉพาะกลุ่ม

กลยุทธ์:

  • พิจารณานำออกจากเมนู
  • ปรับปรุงสูตรหรือปรับราคาให้ดึงดูดลูกค้ามากขึ้น

ขั้นตอนการจัดกลุ่มเมนูตามหลักการ Menu Engineering

 การจัดกลุ่มเมนูควรพิจารณาจากข้อมูลการขายช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ข้อมูลเพียงพอต่อการวิเคราะห์ โดยแนะนำให้ใช้ข้อมูลการขายในช่วง 3 เดือนขึ้นไป เนื่องจากจะครอบคลุมพฤติกรรมของลูกค้าในระยะยาวและช่วยลดผลกระทบจากค่าเบี่ยงเบนของช่วงเวลาที่ขายดีหรือยอดขายตกที่มีระยะเวลาสั้นๆ เช่น ฤดูกาลหรือโปรโมชั่น

1. รวบรวมข้อมูลการขาย

2. คำนวณเกณฑ์เฉลี่ย

  • คำนวณค่าเฉลี่ยความนิยมของเมนูทั้งหมด
  • คำนวณกำไรเฉลี่ยของเมนูทั้งหมด

3. จัดกลุ่มเมนู

  • เปรียบเทียบแต่ละเมนูกับค่าเฉลี่ย
  • จัดเมนูลงในกลุ่ม Stars, Plowhorses, Puzzles หรือ Dogs

4. ปรับปรุงและวางกลยุทธ์

  • ใช้ข้อมูลจากการจัดกลุ่มเพื่อปรับปรุงเมนู
  • ติดตามผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลง

การจัดกลุ่มเมนู ควรทำซ้ำทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อปรับกลยุทธ์เมนูให้เหมาะสมกับพฤติกรรมลูกค้าและแนวโน้มการขายที่อาจเปลี่ยนแปลง

เริ่มต้นวิเคราะห์เมนูของคุณง่ายๆ! ด้วยส่วนเสริม Menu Engineering add-on

หากคุณไม่อยากเสียเวลาคำนวณเอง เราขอแนะนำ ส่วนเสริม Menu Engineering วิเคราะห์เมนูไหนควรเชียร์ เมนูไหนควรตัด เพื่อจัดกลุ่มเมนูในร้านให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มยอดขายและลดต้นทุน

เพิ่มประสิทธิภาพและกำไรให้ธุรกิจของคุณ

More
articles

สนใจร่วมขายเทมเพลต และผลงานดิจิตอล

วันเดียวเท่านั้น

ลดสูงสุด

50% Off

Days
Hours
Minutes

ส่วนลดออนไลน์ที่คุ้มที่สุดของปี