แก้วแต่ละประเภทและจำนวนที่ควรมีสำรอง
การเลือกและจัดเตรียมแก้วในร้านอาหารไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความสวยงามหรือประสบการณ์ของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานและการจัดการต้นทุน แก้วสำรองที่เพียงพอช่วยลดความกังวลช่วงลูกค้าเยอะและปัญหาจากการใช้งาน
วิธีคำนวณจำนวนแก้วสำรองที่เหมาะสม
- จำนวนลูกค้าต่อวัน: ควรมีแก้วน้ำเปล่าเพียงพอตามจำนวนลูกค้า และสำรองสำหรับลูกค้ากลุ่มถัดไป
- ประเภทเมนูเครื่องดื่ม: พิจารณาเมนูเครื่องดื่มหลักของร้าน เช่น หากขายไวน์หรือค็อกเทล ควรเพิ่มแก้วที่เกี่ยวข้องตามสัดส่วนยอดขาย
- โอกาสเสียหาย: เผื่อสำหรับการแตกหักหรือเสียหาย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ลูกค้าแน่น
- เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า: การวิเคราะห์จากข้อมูลของธุรกิจที่คล้ายกัน เพื่อจัดเตรียมให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ ช่วยลดต้นทุนการสต๊อกเกินจำเป็น
- รอบการล้าง: หากร้านมีระบบล้างจานที่รวดเร็ว อาจลดจำนวนลงได้
ประเภทแก้วที่ร้านอาหารควรมี
แนวทางการสำหรับการสต๊อกแก้วเครื่องดื่มสำหรับร้านอาหาร ตามประเภทแก้วเครื่องดื่ม เพื่อให้เพียงพอสำหรับการให้บริการลูกค้า ในช่วงเวลาที่ลูกค้าเยอะหรือมีงานจัดเลี้ยง
1. แก้วน้ำเปล่า (Water)
- สำหรับการเสิร์ฟน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มทั่วไป
- ควรมีทรงเรียบง่าย ทนทาน และเหมาะสำหรับการใช้งานในปริมาณมาก
- จำนวน: ควรมีสำรองประมาณ 2 เท่าของจำนวนที่นั่งในร้าน
2. แก้วไวน์ (Wine)
- แก้วไวน์แดง
- แก้วไวน์ขาว
- จำนวน: ควรมีสำรองประเภทละ 1.5 เท่าของจำนวนที่นั่ง*
สำหรับร้านที่ไวน์เป็นเมนูเสริม อาจกำหนด PAR ของแก้วไวน์ที่ 0.5-1 เท่าของจำนวนที่นั่ง
3. แก้วเบียร์ (Beer)
- แก้วทรงสูงหรือแก้วเบียร์แบบมีหูจับ
- จำนวน: ควรมีประมาณ 1.5 เท่าของจำนวนลูกค้าที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. แก้วค็อกเทล (Cocktail)
- แก้วมาร์ตินี่
- แก้วไฮบอล
- แก้วร็อค / โอลด์แฟชั่น
- จำนวน: ประเภทละ 0.25 เท่าของจำนวนที่นั่ง หรือ 1.5 เท่าของจำนวนค็อกเทลที่คาดว่าจะขายในวันปกติ
5. แก้วกาแฟและชา (Coffee & Tea)
- รวมถึงแก้วสำหรับเอสเปรสโซ ลาเต้ และชา
- ควรเลือกแบบที่จับง่ายและกันความร้อน
- จำนวน: ประมาณ 2 เท่าของจำนวนที่นั่ง
6. แก้วน้ำผลไม้หรือสมูทตี้ (Juice or Smoothie)
- แก้วที่มีดีไซน์สดใส
- จำนวน: 1 เท่าของจำนวนที่นั่ง
*ร้านที่เพิ่งเปิดใหม่หรือร้านขนาดเล็กอาจยังไม่พร้อมสต๊อกแก้วจำนวนมาก อาจจัดซื้อให้แค่พอใช้งานก่อน แต่เมื่อจำเป็นต้องใช้จริงๆ ก็ไม่ควรประหยัดต้นทุนจนกระทบความสะดวกสำหรับการบริการลูกค้า
**ร้านเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่จัดเก็บจำกัด อาจเน้นแก้วอเนกประสงค์ที่ใช้ได้กับหลายเมนู
ข้อแนะนำในการจัดการแก้วในร้านอาหาร
1. แยกประเภทและเก็บให้เป็นระเบียบ
- ใช้ชั้นวางหรือพื้นที่จัดเก็บที่แยกตามประเภทแก้ว
- ลดความเสี่ยงของการเสียหายหรือหยิบผิด
2. ตรวจสอบจำนวนแก้วเป็นประจำ
- ทำการตรวจนับจำนวนแก้วในแต่ละประเภท เพื่อให้แน่ใจว่ามีสำรองเพียงพอ
3. เลือกแก้วที่เหมาะกับสไตล์ร้าน
- สไตล์และธีมของร้านอาหารควรสะท้อนผ่านแก้ว
4. เลือกวัสดุที่เหมาะกับการใช้งาน
- แก้วที่ถูกใช้งานบ่อย ควรเลือกวัสดุที่มีความทนทานสูง เช่น แก้วโพลีคาร์บอเนต(แก้วตกไม่แตก)
- แก้วใสเหมาะกับการเสิร์ฟในงานเลี้ยงหรืองานที่ต้องการความหรูหรา
- วัสดุที่เลือกใช้ มีผลต่อความรู้สึกคุ้มค่าของลูกค้า ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของร้าน
สรุป
ใช้แอปพลิเคชันบริหารจัดการระบบหลังบ้าน ที่ช่วยจัดการสต๊อกอุปกรณ์เครื่องใช้และการตรวจนับสินค้า ตรวจสอบข้อมูลสต๊อกได้แบบเรียลไทม์