ต้นทุนของแก๊สหุงต้ม
ผู้ประกอบการบางรายยังคงใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยจากระยะเวลาการสั่งซื้อแก๊สในแต่ละช่วงรอบเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายรายวัน แต่การคำนวณแบบนี้อาจไม่แม่นยำเท่าที่ควร เนื่องจากปริมาณการใช้แก๊สในแต่ละวันอาจแตกต่างกันไปตามสูตรอาหาร
ซึ่งตอนที่ตั้งราคาขาย หากไม่ได้คำนวณต้นทุนค่าแก๊สที่แฝงไปด้วย รายจ่ายที่จะแสดงออกมาทีหลัง อาจสูงกว่าที่คิดไว้
ซึ่งเมนูที่ขายดี อาจไม่ได้กำไรดีอย่างที่คิด
ค่าแก๊ส ต้นทุนแฝงที่ไม่ควรมองข้าม
วิธีการคำนวณ
การคำนวณที่ละเอียดกว่าสามารถทำได้โดยการนำอัตราการบริโภคแก๊สของเตาแต่ละรุ่น
มาคำนวณอัตราการบริโภคตามเวลาใช้งาน โดยผู้ผลิตที่มีมาตรฐานจะระบุข้อมูลไว้ในคู่มือของสินค้า
ยกตัวอย่างเตาแก๊สในอุตสาหกรรมร้านอาหาร ที่พบเห็นได้บ่อย
- KB-3 (เตาฝรั่ง): อัตราการบริโภคประมาณ 30,000 BTU ต่อชั่วโมง
- KB-5 (เตาไทย): อัตราการบริโภคประมาณ 50,000 BTU ต่อชั่วโมง
KB-7 (เตาจีน): อัตราการบริโภคประมาณ 70,000 BTU ต่อชั่วโมง
การใช้ตัวเลขท้ายของรุ่นเตา (3, 5, 7) คูณด้วย 10,000 จะได้อัตราการบริโภค BTU ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นวิธีง่ายในการจำอัตราการบริโภค (หน่วยของอัตราการบริโภคแก๊สที่พบบ่อยจะมี kW,BTU,MJ โดยสามารถแปลงค่าระหว่างหน่วยได้)
เวลาที่ใช้งานได้ =ค่า BTU ของถังแก๊ส ÷ อัตราการบริโภค BTU ของเตา
ตัวอย่างการคำนวณสำหรับเตา KB-5
1.ค่า BTU ของถังแก๊ส: 595,000 BTU
2.อัตราการบริโภคแก๊สของเตา KB-5: 50,000 BTU ต่อชั่วโมง
เวลาที่ใช้งานได้ = 595,000/50,000
≈11.9 ชั่วโมง
ดังนั้น หากใช้เตา KB-5 วันละ 4 ชั่วโมง จะใช้งานได้ประมาณ 3 วันต่อถัง
การคำนวณข้างต้นใช้ค่าอัตราการบริโภคแก๊สเต็ม 100% เนื่องจากการปรับไฟอ่อน-กลางขึ้นอยู่กับเทคนิคของผู้ใช้งานแต่ละคน ในทางปฏิบัติ การใช้งานจริงอาจมีการปรับไฟเพื่อลดการใช้แก๊ส ซึ่งสามารถทำให้แก๊สใช้งานได้นานขึ้น
ตัวอย่าง การใช้เทมเพลตเพื่อคำนวณต้นทุนค่าแก๊ส
เมื่ออัตราการบริโภคแก๊ส 50,000 BTU/Hr และแก๊สหุงต้ม 15 กก. ราคา 435 บาท
อัตราโภคแก๊สของเตาKB อาจมีความแตกต่างกัน ตามมาตรฐานของผู้ผลิต
คำนวณค่าพลังงานสำหรับอุปกรณ์ของคุณ รองรับการคำนวณแก๊สและไฟฟ้า เครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง