กาแฟ 1 แก้วต้นทุนเท่าไหร่
กาแฟ 1 แก้วต้นทุนเท่าไหร่
ทั้งที่ตอนเริ่มก็ได้คิดต้นทุนแล้วเห็นว่าขายกาแฟมีกำไรดี แต่เปิดธุรกิจไปตั้งหลายปีกลับยังไม่ได้ทุนคืน อาจเพราะตอนคำนวณต้นทุนพลาดเรื่องนี้ไป กาแฟ 1 แก้วต้นทุนเท่าไหร่? ลองมาดูไปพร้อมกัน

ต้นทุนของกาแฟ

ดูเผินๆแล้วธุรกิจคาเฟ่-ร้านกาแฟ สามารถทำกำไรได้มาก แต่ผู้ที่ทำธุรกิจด้านนี้กลับบอกเป็นว่าการคืนทุนเป็นเรื่องที่ยากมากกว่า

ทั้งที่ตอนเริ่มก็ได้ดูต้นทุนแล้วเห็นว่ามีกำไรค่อนข้างเยอะ
แต่นั่นอาจเป็นเพราะมองแค่ต้นทุนวัตถุดิบ 

ตัวอย่าง ต้นทุนเมนูลาเต้เย็น ขายแก้วละ 85.-
ต้นทุนลาเต้เย็น Latte กาแฟ 1 แก้วต้นทุนเท่าไหร่

ต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ รวม 28.25 บาท

ต้นทุนวัตถุดิบแต่ละร้านอาจจะใกล้เคียงกัน
แต่ส่วนของต้นทุนแฝง จะมีความแตกต่างกันไปตามแผนธุรกิจ

ต้องคำนวณตั้งแต่เริ่มต้น

   เมื่อเริ่มที่จะทำธุรกิจที่หวังผลกำไร การวางแผนเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อให้สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เพื่อคำนวณราคาขายที่ครอบคลุมต้นทุนและสามารถคืนทุนได้ตามระยะเวลาที่ตั้งเป้าหมาย
  นอกจากต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ ยังมีต้นทุนแฝงอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นแรกของการเริ่มธุรกิจที่ควรนำไปคำนวณ

  • เช่าร้าน/ซื้อที่ดิน 
  • การลงทุนออกแบบ-ก่อสร้าง
  • เวลาที่สามารถใช้งานและการเสื่อมสภาพ
  • ค่าจ้างพนักงาน
เทคนิค คำนวณต้นทุนแฝงโดยเฉลี่ยตามเป้ายอดขายต่อระยะเวลาเปิดให้บริการ

กรณีสมมติ

  • จำนวนเงินลงทุน 1,300,000 บาท
  • ค่าเช่า 20,000 บาท/เดือน
  • ระยะเวลาต้องการคืนทุน 5 ปี
  • เป้าการขายต่อวัน 100 แก้ว
  • พนักงาน 3 คน
  • เปิดร้าน 10 ชั่วโมง/วัน

เปิดขาย 10 ชั่วโมง (600 นาที) ขายจำนวน 100 แก้ว เฉลี่ยต้นทุนแฝงตามระยะเวลาต่อแก้ว 600÷100 = 6 นาที/แก้ว

ต้นทุนลาเต้เย็น
กดที่ภาพ เพื่อดูรายละเอียด

▪️COGS – ต้นทุนวัตถุดิบ-บรรจุภัณฑ์ = 29.49 บาท

▪️COL – ต้นทุนค่าจ้าง = 19.07 บาท

▪️Cost of Energy consumption – ต้นทุนพลังงาน = 5.72 บาท

▪️COR – ต้นทุนค่าเช่า = 6.57 บาท

▪️Depreciation – ค่าเสื่อมราคา = 7.12 บาท

         รวมแล้ว 67.67 บาท

ขายกาแฟแก้วละ 85 บาท  เท่ากับได้กำไร 17.02 บาท

  • ค่าเช่าและค่าเสื่อม ควรคิดจากระยะเวลาที่ใช้งานได้จริง หากเฉลี่ยจากเวลาทั้งหมด(รวมช่วงที่ปิดให้บริการ) อาจทำให้ต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริง
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 BTU จะกินไฟประมาณ 2,400 วัตต์ต่อชั่วโมง
  • หากจำนวนแก้วที่ขายเพิ่มขึ้น ต้นทุนแฝงจะลดลงตามจำนวนเฉลี่ยจากจำนวนที่ขาย และได้รับกำไรมากขึ้น และหากขายไม่ถึงเป้า ต้นทุนอื่นๆนอกจาก COGS เฉลี่ยต่อรายการจะสูงขึ้น

เมื่อทำตามเป้าได้อย่างต่อเนื่องครบ 5 ปี ส่วนค่าเสื่อมราคาจะเปลี่ยนเป็นกำไร

กำไร เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนขาย
การอ่านค่ากำไร-ขาดทุน
  1. ชื่อช่องทางขาย
  2. แบ่งเป็นจำนวนเสิร์ฟ
  3. ราคาขาย
  4. ราคาขายเมื่อรวมภาษีและค่าบริการ(หากมี)
  5. ต้นทุนขาย  : แยกตามประเภท
  6. แสดงรายการหักและค่าบริการ
  7. สัดส่วนต้นทุน : ผลสรุปกำไรของสูตร

ตัวอย่างการวิเคราะห์ต้นทุน เมื่อกำหนดรูปแบบต่างกัน

  • ใส่แก้ว Takeaway เฉพาะ COGS
  • ใส่แก้ว Takeaway เมื่อคิดต้นทุน COGS และต้นทุนแฝง
  • ทานที่ร้าน และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ใส่แก้ว Takeaway และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ขายทางเดลิเวอรี่ ราคาเดียวกับหน้าร้าน ขาดทุน
  • ขายทางเดลิเวอรี่ ปรับราคาขาย
เมนูลาเต้เย็น กำไร
ต้นทุน-กำไร เมื่อขายกาแฟในช่องทางต่างๆ

ยังมีวิธีการคิดต้นทุน ที่สามารถทำได้ยืดหยุ่นยิ่งกว่า และรวมหลายเมนูมาคิดเพื่อหายอดเป้าขายต่อวันอย่างละเอียดได้ แม้มีต้นทุนไม่เท่ากัน

More
articles

สนใจร่วมขายเทมเพลต และผลงานดิจิตอล

วันเดียวเท่านั้น

ลดสูงสุด

50% Off

Days
Hours
Minutes

ส่วนลดออนไลน์ที่คุ้มที่สุดของปี